Archive: April 2, 2017

8.6 แบริเออร์น้ำ

แบริเออร์น้ำ ใช้สำหรับกั้นแบ่งแนว และจัดระบบจราจรยามฉุกเฉินเมื่อต้องการปิดกั้นรถ หรือต้องการเปลี่ยนเส้นทางการเดินรถ แบริเออร์น้ำ สามารถนำมาเรียงเป็นแนวยาว ทางโค้ง และหักมุมได้ แบริเออร์น้ำผลิตจากพลาสติกชนิดโพลีเอทลีน (Polyethylene) ที่ มีคุณสมบัติแข็ง และเหนียว ไม่แตกง่าย ทนต่อทุกสภาวะอากาศ เพิ่มความแข็งแรง และน้ำหนักโดยการบรรจุน้ำ หรือทรายในปริมาณที่พอเหมาะ ช่วยลดความรุนแรงของอุบัติเหตุ อันตรายของผู้ขับขี่ และยานพาหนะไม่เสียหาย มากนัก เนื่องจากมีความยืดหยุ่นต่างจากเหล็ก หรือกำแพงคอนกรีต เมื่อใช้งานเสร็จ สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก โดยการถ่ายน้ำ หรือทรายออก และพร้อมที่จะนำไปใช้งานได้ง่าย มีน้ำหนักเบา มี 2 สีให้เลือก คือ สีส้ม และสีขาว

แบริเออร์น้ำ

8.7 Crash cushion

Crash cushion อุปกรณ์ดูดซับแรงชน หรืออุปกรณ์ดูดซับแรงปะทะ ที่เกิดกับรถยนต์เมื่อเกิดอุบัติเหตุ ช่วยลดความรุนแรงของการชน ลดโอกาสสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน เป็นการช่วยหยุดรถไม่ให้ชนกับสิ่งกีดขวาง และไม่เกิดอุบัติเหตุซ้ำซ้อน กับรถยนต์ คันอื่น เมื่อเกิดอุบัติเหตุ Crash cushion สามารถหยุดความเร็วรถได้ 80 กม./ชม. ลดความรุนแรงจากอุบัติเหตุรถตกทางด่วน รถชนบนโทลล์เวย์ รถชนบริเวณสะพานข้ามแยก

เหตุอันควรสำหรับการติดตั้งอุปกรณ์ Crash cushion

  1. สิ่งกีดขวางในเขตทาง เช่น ราวกันอันตรายตรงเกาะกลาง หรือเสาสะพาน เป็นต้น
  2. สิ่งกีดขวางในเขตทาง ที่มีความกว้างเกินกว่า 5 เมตร ให้ใช้ถังทรายเป็นอุปกรณ์ดูดซับแรง
  3. จุดหัวเกาะที่มีทางแยกกระแสจราจรออกจากกัน
  4. ตำแหน่งที่วิศวกรพิจารณาแล้ว พบว่าจะช่วยลดความรุนแรงที่เกิดจากการชนปะทะ

Crash cushion

7.2 Mast Arm พร้อมป้ายเตือนและไฟกระพริบ

Mast Arm พร้อมป้ายเตือนและไฟกระพริบ เสารูปตัว L ที่ติดป้ายเตือนยื่นเข้าไปในถนน พร้อมไฟกระพริบ ใช้กับถนน 2 ช่องทางจราจรเพื่อเป็นจุดเตือนในเวลากลางวันและกลางคืน

Mast Arm พร้อมป้ายเตือนและไฟกระพริบ

7.3-7.4 ไฟกระพริบพลังงานแสงอาทิตย์

ไฟกระพริบพลังงานแสงอาทิตย์ สีเหลืองใช้เตือนระวังอันตราย เป็นโคมไฟจราจรใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ ทำให้ประหยัดพลังงาน ตัวโคมผลิตจาก พลาสติกชนิด ABS สีดำ หลอดไฟชนิด LED สีเหลือง และสีแดง ชนิดความเข้มสูง สำหรับงานจราจรโดยเฉพาะบนโคม ไฟกระพริบพลังงานแสงอาทิตย์ ติดตั้งแผง Solar Cell เพื่อ รับพลังงานจากแสงอาทิตย์ โดยแผงโซล่าร์เซลล์ จะเปลี่ยนพลังงานแสงให้เป็นพลังงาน ไฟฟ้าและนำไปทำการเก็บไว้ที่แบตเตอรี่ จากนั้นแบตเตอรี่จะทำหน้าที่จ่ายพลังงานให้กับวงจรควบคุมไฟกระพริบ และโคมไฟกระพริบต่อไปสามารถใช้งานได้อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลานาน 48 ชั่วโมง แม้ว่าหากไม่ได้รับพลังงาน จากแสงอาทิตย์ เพราะมีแบตเตอรี่ เพื่อสำรองพลังงานไว้ อายุการใช้งานของหลอดไฟ LED มากกว่า 100,000 ชั่วโมงไฟกระพริบพลังงานแสงอาทิตย์

 

6.2 เสาหลักนำทางคอนกรีตเสริมเหล็ก

เสาหลักนำทางคอนกรีตเสริมเหล็ก เป็นเสาขนาดสั้น ติดวัสดุสะท้อนแสง หรือทาสีสะท้อนแสงเพื่อช่วยให้ผู้ขับขี่สามารถมองเห็นหลักนำทางได้อย่างชัดเจนในเวลากลางคืนเมื่อเปิดไฟสูงมาตรฐานของรถยนต์ทั่วไป โดยวัสดุที่ใช้ทำตัวเสาอาจเป็นคอนกรีต ไม้ หรือ พลาสติก

เหตุอันควรสำหรับติดตั้ง เสาหลักนำทางคอนกรีตเสริมเหล็ก

  1. บริเวณทางหลวงที่เป็นอุปสรรคต่อการมองเห็น เช่น ทางโค้งราบ ทางขึ้นเนิน
  2. บริเวณที่มีอุปสรรคข้างทาง เช่น ท่อระบายน้ำ
  3. บริเวณที่กานภาพทางหลวงเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น บริเวณทางร่วม

เสาหลักนำทางคอนกรีตเสริมเหล็ก

6.3 หลักกิโลเมตร

หลักกิโลเมตร เป็นเครื่องหมายอย่างหนึ่งที่กำกับด้วยตัวอักษรและตัวเลขส่วนมากจะเป็นเสาหินหรือเสาปูนเตี้ยๆ แล้วจารึกหรือเขียนตัวอักษรด้วยสี หลักกิโลเมตร ติดตั้งไว้เป็นระยะๆ เท่ากัน (ทุก 1 กิโลเมตรหรือ 1 ไมล์) ตลอดเส้นทาง ที่ริมถนนหรือระยะโดยเฉลี่ยตรงกลางถนน จุดประสงค์ของการสร้างหลักกิโลเมตรเพื่อเป็นการบอกผู้เดินทางว่า ได้เดินทางมาเป็นระยะทางเท่าใดแล้ว หรืออีกไกลเท่าไรกว่าจะถึงจุดหมาย สำหรับการเลือกใช้หลักกิโลเมตรหรือหลักไมล์ ขึ้นอยู่กับว่าในประเทศนั้นนิยมการวัดความยาวในระบบอังกฤษหรือระบบเมตริก

หลักกิโลเมตร